รายงานผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโพธิ์ชัยดอกคำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2

0

ชื่อเรื่อง              รายงานผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

โรงเรียนบ้านโพธิ์ชัยดอกคำ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2

ผู้ศึกษาค้นคว้า    ธวัชชัย  โคตรสุโน

ปีที่ทำการพิมพ์   2563

บทคัดย่อ

การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโพธิ์ชัยดอกคำ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2 ใน 3 ด้านได้แก่ 1) ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินการของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ด้านผลผลิตของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและ นักเรียน จำนวน 131 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบประเมินมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.706 ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาจำนวน 131 ฉบับ (ร้อยละ 100) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ผลการประเมินพบว่า  ระดับการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านโพธิ์ชัยดอกคำ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2   โดยภาพรวมดังนี้

1. ด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการโดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงค่าเฉลี่ยแต่ละองค์ประกอบ จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ความพร้อมและทรัพยากรในการดำเนินการ ความต้องการจำเป็นของโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ ตามลำดับ

2. ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างการดำเนินโครงการ โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงเฉลี่ยแต่ละองค์ประกอบจากมากไปหาน้อย ได้แก่ กิจกรรมการดำเนินงานของโครงการและช่วงเวลาการดำเนินงานของโครงการ ตามลำดับ

3. ด้านผลผลิตของโครงการโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงค่ำเฉลี่ยแต่ละข้อจากมากไปหาน้อย ได้แก่ นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม นักเรียนไม่เสพสิ่งเสพติดและไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตรทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนเรียนรู้ได้ตามศักยภาพและมีความสนในการเรียน

ใส่ความเห็น