การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

0

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research& Development ) มีวัตถุประสงค์  ดังนี้  1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   2) เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถ    ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4)  เพื่อประเมินผลการใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1  ได้แก่   หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระที่  2 การเขียน และสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา สาระการเรียนรู้เรื่องการเขียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของสถานที่ การแต่งประโยคเพื่อการสื่อสาร และมารยาทในการเขียน  ทฤษฎีการเรียนรู้และการเชื่อมโยงความคิดของแฮร์บาร์ต ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยกระบวนการค้นพบของบรุนเนอร์  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอซูเบล และทฤษฎีการเรียนรู้แบบกลุ่มผสมผสานของกาเย่ และทฤษฎีการสร้างความรู้ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน  และความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์   การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย  แนวคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและผลการทดสอบวัดความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  2 คน ด้วยการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยกับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 4 คน แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในขั้นตอนที่ 1  ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ในการตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้อง  และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  แหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ  4  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2561 โรงเรียนเทศบาล ๔     หนองแคอนุสรณ์ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองแค  อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 32 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random  Sampling )  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้  2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์  4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และ5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา  (content analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่การหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test dependent )

ใส่ความเห็น